1.จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้
|
ครูทุกคนจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา โดยร่วมกันวิเคราะห์หลักสูตร จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงหลังจากชั่วโมงเรียนทฤษฎี ซึ่งการจัดการเรียนรู้แบบนี้ทำให้ผู้เรียน มีความความกระตือรือร้นในการเรียนเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งครูยังจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะ กล้าแสดงออก แสดงความคิดเห็น สรุปองค์ความรู้นำเสนอผลงาน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ ซึ่งเป็นคุณลักษณะและทักษะที่จำเป็นของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 |
2.ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่อื้อต่อการเรียนรู้
|
ครูร้อยละ 96.15 สามารถผลิตและใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอน พัฒนาสื่อ นวัตกรรม มีการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนอย่างเต็มศักยภาพ งานพัฒนาระบบเครือข่ายเทคโนโลยี จัดทำระบบโครงข่ายติดตั้งอุปกรณ์ทั้งระบบสาย และไร้สาย เพื่อให้ผู้เรียนและครูผู้สอนสามารถเข้าใช้ระบบเครือข่ายในการจัดการเรียนรู้ และใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ทุกห้องเรียน โดยสื่อการสอนที่ใช้ ประกอบด้วย ใบงานใบความรู้ แบบฝึกทักษะ บัตรภาพ บัตรคำ วิดีโอ และเกมต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ครูของสถานศึกษาทุกคนจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ครูทุกคนต้องมีการมอบหมายงานให้ผู้เรียนจัดทำการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อการเรียนรู้และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้สถานศึกษา |
3.มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก
|
ครูทุกคน มีการบริหารจัดการชั้นเรียนในเชิงบวก โดยจัดสภาพความพร้อมที่จะดำเนินการเรียนการสอนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการเรียนรู้ผู้เรียนมีความสุข ส่งผลให้ผู้เรียนรักการเรียนรู้ อีกทั้งครูมีพฤติกรรมการสอนที่สร้างบรรยากาศให้กับผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้ ภายใต้การสนับสนุนของโรงเรียนในการจัดห้องปฏิบัติการต่างๆให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ครูทุกคนมีการบริหารจัดการชั้นเรียนที่เป็นระบบ จัดทำเอกสารในชั้นเรียนอย่างถูกต้องและครบถ้วน มีการวิเคราะห์ข้อมูลนักเรียนรายบุคคลและนำผลการไปออกแบบการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความสามารถความต้องการและสภาพบริบทของนักเรียน มีการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนอย่างเป็นระบบ โดยมีการติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครองนักเรียนในหลายช่องทาง คือทางโทรศัพท์ ทาง Facebook การจัดตั้งกลุ่ม Line และการประชุมผู้ปกครองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้มีครูทุกคนต้องดำเนินการเยี่ยมบ้านนักเรียนในความรับผิดชอบปีการศึกษาละ ๑ ครั้ง แล้วจัดทำข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนเป็นรายบุคคล |
4.ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
|
ครูร้อยละ 96.15 มีการออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ แบ่งสัดส่วนของประเมินผลระหว่างภาค และปลายภาคแล้วส่งแผนการวัดประเมินผลต่อฝ่ายวิชาการ โดยใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลที่เหมาะสมกับการประเมิน และให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียน เพื่อให้นักเรียนจัดทำแฟ้มสะสมงาน มีการแจ้งผลการประเมินให้ผู้ปกครองทราบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ |
5.มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้
|
ครูทุกคนรวมกลุ่มชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่รับผิดชอบหรือต่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามความเหมาะสม มีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้กับองค์กรภายนอกและชุมชนที่อยู่ใกล้โรงเรียน มีการดำเนินการนิเทศภายในเพื่อติดตามการเรียนการสอนอยู่เสมอ เพื่อพัฒนาการสอนและแก้ปัญหาในชั้นเรียน มีการอบรมตามความสนใจ เพื่อเน้นการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นตามสภาพจริง
|